Food Intolerance
ภูมิแพ้ อาหารแอบแฝง
เมื่อพูดถึงการแพ้อาหาร มักนึกถึงอาการคันมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการแพ้ดังกล่าวนี้เรียกว่า การแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ร่างกายะสร้างแนติบอดีชนิด IgE ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้อย่างรุนแรง แต่การแพ้อาหารชนิด "แฝง" จะแตกต่างออกไปโดยร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgG โดยจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติในทันที แอนติบอดีชนิด IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะค่อยๆทำลายเนื้อเยื่อของเราเองเนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตราบเท่าที่เรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายต่อต้าน จนทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น การทำงานของอวัยวะนั้นก็เสียไปปรากฎเป็นอาการของโรคเรื้อรังต่างๆขึ้นอยู่กับอวัยวะใดที่ถูกทำลายไป โดยที่เราหาสาเหตุที่เกิดโรคนั้นไม่ได้ อาการที่เกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง Food Intolerance (Food IgG) นี้พบได้ในหลายระบบของร่างกายตั้งแต่ โรคระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
อาการแพ้อาหารแฝง
อาการแพ้อาหารแบบแฝง Food Intolerance จะใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ มักแสดงอาการหลากหลาย แต่ไม่รุนแรง มีอาการเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นๆ แม้อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจบางอย่าง เช่น
-
ท้องอืด ท้องผูก ท้องเอ รู้สึกอึดอัดจากลมและแก๊สในกระเพาะ
-
ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน
-
ปวดหัวเรื้อรัง ไมเกรน
-
ไอ จาม จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หอบหืด คัดจมูก
-
ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกไม่สบายตัว
-
ขอบตาดำหรือมีถุงใต้ตา
-
อาการทางผิวหนังบางอย่างเช่น สิว ปัญหาลมพิษ ผื่นคัน ผิวบวม ผิวบวมน้ำ
ทำไมต้องตรวจ… ?
1. เนื่องจากอาการแพ้เกิดขึ้นภายหลังได้รับ allergen 2-72 ชั่วโมง จึงเป็นการยากที่จะทราบว่าเราแพ้อะไร
2. ค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับค่ารักษาพยาบาล ค่ารถ ค่าเสียเวลา ฯ ที่ต้องไปพบแพทย์เมื่อมีอาการแพ้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
3. การหลีกเลี่ยงอาหารที่ร่างกายมีปฎิกิริยา เป็นการรักษาภูมิแพ้แบบแอบแฝงที่ต้นเหตุ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
-
ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ โรคกลุ่มออโตอิมมูน ในเด็กที่มีพัฒการล่าช้า
-
ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบทานอาหารซ้ำๆ
-
ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้แต่ผลตรวจ IgE เป็น Negative
-
ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน
-
กลุ่มที่อาการตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
รายการอาหารที่มีให้เลือก
-
96 General Food
-
96 Asian Food
-
96 Vegetarian
-
96 Japanese
-
96 Mexican
วิธีการเก็บตัวอย่าง ปริมาณเลือดที่ใช้
- ใช้เลือด 5 มิลลิลิตร หรือ 3 stripe โดยใช้วิธีหยดเลือดลงบนแผ่นเก็บเลือดทั้ง 3 แผ่นให้ชุ่ม
(ห้ามเอาปลายนิ้วป้ายลงบนแผ่นเก็บเลือด) ทิ้งไว้ให้แห้งในอุณหภูมิห้องประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นเก็บใส่ซองโดยไม่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น โดยเลือดตัวอย่างมีอายุ 60 วัน
ระยะเวลาที่ใช้จัดส่ง ตรวจ และออกผล ประมาณ 1 เดือนหรือน้อยกว่านั้น
ข้อแนะนำในก่อนการตรวจ
1. ผู้รับการตรวจ ต้องมีอายุมากกว่า 1ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่ต้องตรวจควรงดยาหรือวิตามินอย่างน้อย 4วันก่อนเข้ารับการเก็บตัวอย่างเลือดยาหรือวิตามินที่ควรงดได้แก่
- กลุ่ม Steroid-Antibiotic (กลุ่มปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ)
- ยาหรือวิตามินที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
- ยาหรือวิตามินแก้แพ้ แก้หวัด
- ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดการอักเสบ
- ผู้ได้รับวิตามินซีมากกว่าหรือเท่ากับ5กรัมต่อวัน
- ได้รับการบำบัดด้วยการทำเคมี
3. ในกรณีที่ได้รับวัคซีน ควรรับการตรวจหลังจากได้รับวัคซีน 1 เดือนขึ้นไป
* การงดยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร *
ผู้ที่ต้องการตรวจควรงดยาหรือวิตามิน 4 – 7วันก่อนเข้ารับการเจาะเลือดโดยที่ยาหรือวิตามินที่ต้องงดได้แก่
-
ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Steroid, Hormone ทดแทน
-
ยาหรือวิตามินที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
-
ยาหรือวิตามินแก้แพ้ ,แก้หวัด
-
ยาแก้ปวด,ยาคลายกล้ามเนื้อ,ยาลดการอักเสบ
-
ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)(Antibiotics)
-
ผู้ที่ได้รับวิตามินซี มากกว่าหรือเท่ากับ 5 กรัมต่อวัน
-
ได้รับการบำบัดด้วยการทำเคมีบำบัด
ในยากลุ่มที่ถูกระบุขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงกลุ่มยากว้างๆซึ่งยาในบางกลุ่มมียาที่สามารถรับประทาน ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่ายาที่รับประทานอยู่ต้องงดหรือไม่ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อน
• IgG 222
อาหาร คือสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายในการเสริมสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ซึ่งต้องมีความหลากหลายและปริมาณที่พอเหมาะ จึงจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในขณะเดียวกัน อาหารที่เหมาะสมกับคนอื่นอาจไม่เหมาะสมกับร่างกายเรา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเราไม่ยอมรับ อาหารนั้นก็อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และก่อให้เกิดภาวะความเสื่อมไปทั่วร่างกายได้เช่นกัน สิ่งที่เราเรียกว่าอาหารนั้น ก็จะกลายเป็นสารพิษแทน
ทำไมต้องตรวจภูมิแพ้ต่ออาหาร ร่างกายของคนเรามีปฏิกิริยาตอบสนอง หรือการแพ้อาหารที่เรารับประทานในระดับทีแตกต่างกัน การแพ้อาหารในรูปแบบของผื่นลมพิษ ( Urticaria Rash)หรือการหอบหืด( Asthmatic attacks) เป็นรูปแบบการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมผ่าน Immunoglobulin E หรือ IgE หรือ Acute Food Allergy ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีอย่างรวดเร็วหลังการรับประทานอาหารชนิดนั้นปฏิกิริยาอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้ช้า นับเวลาเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน หลังการรับประทานอาหารนั้นๆ เป็นรูปแบบการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมผ่าน Immunoglobulin G หรือ IgG หรือ Food Intolerance ปฏิกิริยารูปแบบนี้เกิดจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมอย่างซ้ำๆ ซ้ำไปซ้ำมา จนร่างกายแสดงอาการออกมาในรูปแบบการสร้าง IgG ตอบสนองต่ออาหารซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม อาการแสดงจะ
แตกต่างกันออกไปในระหว่างบุคคล แต่โดยมากแสดงออกในรูปผื่น อาการคันตามผิวหนัง
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกง่วงผิดปกติ เมื่อเรายังรับประทานอาหารตัวเดิมต่อ ก็เหมือนเป็นการบั่นทอนสุขภาพ สะสมต่อเนื่องจนก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น กลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง โรคระบบลำไส้รั่ว ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือแม้แต่เกิดการรบกวนระบบประสาทและความจำ เช่น ในภาวะสมาธิสั้น เครียด ไมเกรน เป็นต้น
- ลดน้ำหนักได้ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อ คันหรืออักเสบที่ผิวหนัง
- เคืองตา ปวดกล้ามเนื้อบริเวณรอบตา ขอบตาช้ำ
- คลื่นไส้อาเจียน มีแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
- ท้องเสีย ลำไส้ระคายเคือง (IBS)
- ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง
โรคข้ออักเสบ, รูมาตอยด์, SLE
การแพ้อาหารแบบแอบแฝง ( IgG) ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
- ปวดศีรษะ ไมเกรน
- ภาวะสมาธิสั้น
- หดหู่ กังวลใจ
- คัดจมูก น้ำมูกไหล หอบหืด
- แผลในปากเรื้อรัง
- สิว และผดผื่น
- ท้องผูก จุกเสียดแน่นท้อง
• IgE
เป็นปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้ ทำให้เกิด allergen-specific immunoglobulin E(IgE) antibody หลังจากสัมผัสสารกระตุ้นการแพ้ในสิ่งแวดล้อม ทำให้ mast cell หลั่งสาร histsmine,Leukotrienes, และ prostaglandins ออกมาทำให้เกิดเป็นอาการต่างๆกัน เช่น Shockorgan, Gastrointestinal linning Skin, Eyes/nasal mucous, Bronchial linning
ตัวอย่างอาการเช่น : Vomiting ( อาเจียน), diarrhea (ท้องเสีย),
Eczema (ผื่นผิวหนัง), urticaria (ลมพิษ), Rhinoconjunctivitis (ทางเดินหายใจอักเสบ), Wheeze, asthma (หอบหืด)
ความสำคัญของ IgE ในโรคภูมิแพ้
IgE (E = erythema) ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง 2 ท่านคือ Prof. Kimishige Ishizaka ( จากDenver USA )และ Prof. Gunnar Johannson (จากสวีเดน) รายงานการค้นพบในปี ค.ศ.1963 ระดับ IgE เกี่ยวข้องทั้งการกำเนิดของโรคและ ความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ ซึ่งต่อมา Burrows และคณะได้แสดงให้เห็นว่าระดับของ IgE ในซีรัมมีความสัมพันธ์ กับอุบัติการณ์ของโรคหืดในผู้ป่วยทุกอายุ นอกจากนี้ยังพบว่า specific IgE ที่สูงจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ด้วย