📍ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากหลาย ๆ ประเทศที่กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยิ่งเราอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบประสาทมากขึ้นได้เช่นกัน
จากสถิติ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคระบบประสาทเฉลี่ยถึง 4 นาทีต่อคน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรองจากโรคมะเร็ง ดังนั้น การรักษาสมองให้คงประสิทธิภาพอยู่กับเราไปได้นานที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม
👉 ดูแลระบบประสาทและสมองด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารช่วยบำรุงและสนับสนุนระบบการทำงาน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง โดยสารอาหารที่ช่วยบำรุงระบบสมอง ก็ได้แก่
วิตามินชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งมีอยู่ในอาหารหลายประเภท ดังนี้
🔸วิตามินบี 1 มีมากในอาหารจำพวกข้าวแข็ง ๆ ไข่แดง ปลา ถั่วเหลือง
🔸วิตามินบี 6 แนะนำให้รับประทานไข่ เนื้อสัตว์ จมูกข้าว ข้าวโพด กล้วย
🔸วิตามินบี 12 ช่วยสนับสนุนการทำงานของกระแสประสาท ทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ราว 4 เท่า
🔸อาหารที่เหมาะสมประกอบด้วยไข่ เครื่องในสัตว์ นม เนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่มีไขมันต่ำ อัลมอนด์ อะโวคาโด กล้วย ผักโขม เบอร์รี่ ดาร์กชอกโกแลต เป็นต้น
🔸วิตามินซี มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้จำพวกกีวี ฝรั่ง มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง
🔸วิตามินอี มีมากในผักคะน้า ผักโขม ถั่ว อัลมอนด์ น้ำมันรำข้าว ธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยส่งออกซิเจนเลี้ยงสมอง
🔸ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไข่แดง คนส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจที่ผิดในการเลือกรับประทานอาหารหลายประเภท เพราะคิดว่าอาหารเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าก่อให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรตและไข่แดง ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาหารทั้ง 3 ประเภทนี้มีคุณประโยชน์สำคัญมากกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม
✅ ไขมัน ร่างกายคนเรายังต้องการไขมันและโครงสร้างสมองก็มีไขมันอยู่ถึง 60% การรับ
ประทานอาหารที่เป็นแหล่งไขมันที่ดีจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสร้างความแข็งแรงให้เซลล์สมอง รวมถึงอาหารที่ให้โอเมก้า 3 สูง ประกอบด้วย ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะระเม็ด รวมถึงไข่แดง สาหร่ายทะเล เมล็ดเซีย เมล็ดฟักทอง
งา น้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน อาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนประกอบของไขมันดีซึ่งเป็นประโยชน์
ต่อร่างกาย
✅ คาร์โบไฮเดรต รู้หรือไม่ว่า สมองยังต้องใช้น้ำตาลกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตที่เรารับประทาน การที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลกลูโคสในปริมาณที่ไม่เพียงพออาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง มีอาการหาวนอน เพลีย หน้ามืด ใจสั่น เพราะได้รับพลังงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ควรทานข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด ธัญพืช ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานคุณภาพที่ร่างกายต้องการ
✅ ไข่แดง ที่หลายคนมักเลี่ยงที่จะรับประทาน แต่การทำงานของสมองต้องอาศัยโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ การรับประทานอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมและสมดุลเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เน้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วละเลยส่วนอื่น อาหารจากพืชและสัตว์จำพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับและธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ไก่ ปลา เป็นต้น เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่อุดมด้วยโคลีน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง และอาหารประเภทนม ไข่ งา อัลมอนด์ และเมล็ดฟักทอง ยังมีส่วนช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย
📌 เทคนิคการดูแลฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง
การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง จะช่วยให้การฟื้นตัวทางด้านสมองและกำลังกล้ามเนื้อเร็วขึ้น
และยังสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการนอนบน
เตียงนาน ๆ เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางปอด โรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ
เป็นต้น หากแต่ปัจจุบันนี้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้ในการป้องกันและดูแลโรคระบบประสาทและ
สมองสามารถทำได้โดยใช้หลักการเวชศาสตร์ชะลอวัยที่สามารถดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการ
แพทย์แผนปัจจุบัน
Holistic Medical Centre พร้อมที่จะดูแลสุขภาพของคุณในทุกช่วงวัย
#Wellness#IVTherapy#IVDrip#Health#GoodHealthGoodLife#Vitamin#Detox#Skin#Fat#fatrenove#PreventiveMedicalCentre#Asoke#HealthyLifeStyle#PerfectSkin#FatBurning#วิตามิน#ผิวใส#รูปร่างดี#สุขภาพดี#ผิวสวย#ล้างสารพิษ
Comments