Acupuncture
ฝังเข็ม เป็นศาสตร์การรักษาโรคที่พัฒนามาจากการแพทย์จีนโดยมีการค้นคว้าวิจัยจนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (NIH) รวมทั้งการสาธารณสุขของไทยต่างก็ได้รับรองว่าเวชกรรมฝังเข็มเป็น “การแพทย์ทางเลือก” ในการรักษาโรคที่สำคัญแขนงหนึ่ง
วิธีการรักษา
แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กปักลงบนผิวตำแหน่งต่างๆของร่างกายซึ่งเป็น “จุดฝังเข็ม” แล้วกระตุ้นด้วยมือ หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย แพทย์จะกระตุ้นเข็มนานประมาณ 20-30 นาที จากนั้นจึงถอนเข็มออกโดยที่ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่มีเข็มฝังค้างอยู่ในร่างกายแต่อย่างใด
โดยทั่วไปแล้วจะกระตุ้นวันละ 1 ครั้ง ประมาณสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง (แล้วแต่ชนิดโรค) และทำการรักษาติดต่อกันประมาณ 5-10 ครั้ง (แล้วแต่สภาพโรค) นอกจากนี้แล้ว ในบางกรณีอาจมีวิธีการักษาแบบอื่นๆร่วมด้วย เช่น การเคาะเข็มผิวหนัง การติดเข็มและเม็ดแม่เหล็กกระตุ้นจุดบนใบหู การครอบกระปุกดูด และการรมยาสมุนไพร
เวชกรรมฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร?
การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทตามส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อออกฤทธิ์ปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ ให้อยู่ในสมดุลตามปกติกระตุ้นการทำงานและการฟื้นตัวตัวของเซลล์ประสาท กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตช่วยผ่อนคลายและเสริมพละกำลังให้แก่กล้ามเนื้อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วยจึงทำให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้
เวชกรรมฝังเข็มเมาะสำหรับรักษาโรคอะไรบ้าง ?
-
การฝังเข็มมีฤทธิ์รักษาโรคกว้างขวางมาก สามารถใช้รักษาโรคในร่างกายได้ทุกระบบ ที่สำคัญได้แก่
-
โรคทางระบบประสาท เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ อัมพาตของเส้นประสาท เฉพาะที่สมองเสื่อม ไขสัน
-
หลังอักเสบหรือบาดเจ็บ ปวดศีรษะไมเกรน ปวดเส้นประสาทต่างๆ โรคเหน็บชา อาการสั่นกระตุก เวียนศีรษะ เป็นต้น
-
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อกระดูก เช่น ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดศอก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า ปวดข้อมือข้อเท้า ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม เอ็นและกล้ามเนื้ออักเสบ หมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท โรคนิ้วล็อค โรคไหล่ติด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
-
โรคภูมิแพ้ เช่นภูมิแพ้จมูก หอบหืด ผื่นแพ้เรื้อรัง เป็นต้น
-
นอกจากนี้ การฝังเข็มยังรักษาโรคอื่นๆได้อีกมากมาย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง โรคประสาทลำไส้แปรปรวน กรดกระเพาะอาหารไหลย้อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดประจำเดือน กลุ่มอาการหมดประจำเดือน หูตึงมีเสียงดังในหู เป็นต้น
-
การฝังเข็มยังสามารถใช้บำรุงสุขภาพให้แก่ผู้ที่ยังไม่เจ็บป่วยได้อีกด้วย เช่นกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ปรับการทำงานของสมองและระบบประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย ชะลอความจำเสื่อม ชะลอรอยเหี่ยวย่นของใบหน้า เป็นต้น
เวชกรรมฝังเข็มปลอดภัยแค่ไหน?
การฝังเข็มจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง โดยทั่วไปแล้วการฝังเข็มจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆต่อโรคที่ป่วยเป็นอยู่เดิม สามารถใช้การฝังเข็มรักษาควบคู่ไปกับการรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณอื่นๆ เข็มที่ใช้รักษาจะเป็นเข็มใหม่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อระหว่างบุคคลได้ปลอดภัยที่สุด